กรมส่งเสริมการเกษตร คัดเลือกเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาทำไร่ ชัยยศ ตั้งนิยม ตัวแทนจังหวัดกำแพงเพชร เกษตรกรดีเด่นระดับภาค ประเมินสู่ระดับประเทศ
น.ส.จิราภา จอมไธสง ผู้เชี่ยวชาญด้านส่งเสริมและจัดการ ประธานคณะทำงานการผลิตพืชผัก ไม้ดอก ไม้ประดับและพืชสมุนไพร นางสุกัญญา ตู้แก้ว ผู้อำนวยการกลุ่มผลิตและขยายพันธุ์พืช คณะทำงาน นางสุมาลี ชิณวงศ์ นักวิชาการเกษตรชาญการพิเศษ คณะทำงานสำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร และเลขานุการ ซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาผลการคัดเลือกเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ (ของกลุ่มส่งเสริมการเกษตร) ประจำปี พ.ศ. 2562 เดินทางที่บ้าน นายชัยยศ ตั้งติยม บ้านเลขที่ 137 หมู่ที่ 1 บ้านวังยาง ตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร เกษตรกรดีเด่นระดับภาค สาขาทำไร่ เพื่อคัดเลือกเป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ จะเข้ารับพระราชทานโล่รางวัลในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ พลับพลาที่ประทับมณฑลพิธีท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นการยกย่องเชิญชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นให้เป็นที่ปรากฏแก่สาธารณชนทั่วไป
โดย นายชัยยศ ตั้งนิยม ได้นำเสนอผลงาน ชนิดพืชอ้อย วีดีทัศน์ผลงาน พร้อมกับบรรยาย ขั้นตอนการปฏิบัติงานต่างๆที่เกี่ยวข้องปัจจัยด้านการผลิตไปสู่ผลสำเร็จ ให้กับคณะกรรมการพิจารณาผลการคัดเลือกเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ จากจุดเริ่มต้นช่วยพ่อแม่ทำไร่อ้อย ในพื้นที่ 400 ไร่ ปัจจุบันขยายพื้นที่ทำไร่อ้อย เป็นของตนเอง 1,300 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 18 ตัน/ไร่ เคล็ดลับในการทำไร่อ้อยให้ประสบผลสำเร็จ
- การเริ่มต้นที่ดีถือว่าประสบผลสำเร็จไปครึ่งหนึ่งแล้ว
- “มีอ้อยไม่มีหญ้า มีหญ้าไม่มีอ้อย”
ความคิดสร้างสรรค์และ ความพยายามฟันฝ่าอุปสรรค ดัดแปลงและสร้างนวัตกรรมเครื่องมือเครื่องจักรกลการเกษตรเพื่อประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการผลิตอ้อยเพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ได้แก่ ดัดแปลงเครื่องมือในการปรับแต่งพื้นที่ให้ราบเรียบ เพื่อสะดวกในการบริหาร-จัดการน้ำ ไม่ให้ท่วมขังในฤดูฝนหรือตอนให้น้ำ เพื่อยึดหลักว่า “การเตรียมดินที่ดีเป็นหัวใจสำคัญในการนำไปสู่ความสำเร็จ” ดัดแปลงเครื่องมือในการปรับแต่งพื้นที่ เทคโนโลยีเครื่องจักรกลเข้ามาทำงาน ในการตัดอ้อยเพื่อลดความเสี่ยงในเรื่องการขาดแรงงาน และลดภาวะโลกร้อนแก้ไขปัญหาการเผาอ้อย และใช้เครื่องจักรกลสับใบอ้อยหลังการเก็บเกี่ยวลงดินเพื่อเพิ่มธาตุอาหาร มีการบริหารจัดการผลผลิตโดย เลือกพันธุ์ปลูกให้เหมาะสมกับชนิดของดิน
ทั้งนี้ ปัจจัยการทำเกษตรของเกษตรกร ต้องลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้ การนำ filtercake หรือเป็นภาษาชาวบ้านเรียกว่า ดินขี้เป็ด ซึ่งเป็นของเหลือจากโรงงาน นำมาทดลองในดินที่มีปัญหา ปรากฏว่า ต้นอ้อยเจริญเติบโตดีมาก จึงริเริ่มนำมาใส่เป็นปุ๋ยอย่างจริงจัง ปรับปรุงสภาพดินเพื่อการเพาะปลูก ส่งผลให้คุณภาพดินดีขึ้น ผลผลิตดีขึ้น รายจ่ายน้อยลง ยังได้ส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่หันมาใช้ filtercake เป็นปัจจัยลดต้นทุนการผลิตด้วย/////สมาคมนักข่าวส่วนกลางและท้องถิ่นกำแพงเพชร