ต้องชิม..กินอาหารพื้นถิ่นชุมชนวัดกะโลทัย

ชุมชนวัดกะโลทัย เทศบาลเมืองกำแพงเพชร ร่วมงาน Term of Reference : TOR พัฒนาอาหารพื้นถิ่น 7 อย่าง ภายใต้โครงการ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดกำแพงเพชร

ผัดหมี่สีแดง สีสันชวนรับประทาน เป็นหนึ่งในเมนูอาหารพื้นถิ่น 7 อย่าง ของชุมชนวัดกะโลทัย มีรสออกเปรี้ยวหวานเค็ม มัน หอม อร่อย สีสวยตามแบบฉบับผัดหมี่สูตรโบราณ นับวันจะหาทานยาก จุดเด่นของผัดหมี่แดง ต้องรับประทานคู่กับเครื่องเคียง ใส่ใบกุยช่าย ถั่วงอก และโรยไข่หั่นฝอย สำหรับคนที่ชื่นชอบรสจัดสามารถใส่เครื่องปรุงคลุกเคล้าตามความชอบ

คณะผู้บริหารสำนักงานเทศบาลเมืองกำแพงเพชร เจ้าหน้าที่จากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร กลุ่มแม่บ้านชุมชนวัดกะโลทัย เทศบาลเมืองกำแพงเพชร ร่วมกิจกรรม Term of Reference : TOR พัฒนาอาหารพื้นถิ่น 7 อย่าง ซึ่งอาหารดังกล่าวประกอบด้วย ผัดหมี่แดงโบราณ,ฉู่ฉี่ปลาแม่น้ำปิง,เต้าเจี้ยวหลนโบราณ,แกงส้มแตงโมอ่อนผักรวม,แกงสายใยรักษ์,เครื่องดื่มทำจากมะม่วงหาวมะนาวโห่ และขนมหวานสาคูเปียกมะพร้าวอ่อนกะทิสด

โดยนางเนาวรัตน์ พันธุ์ยิ้ม ที่ปรึกษาชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีชุมชนกะโลทัย เปิดเผยว่า การร่วมโครงการนี้ของชาวชุมชนวัดกะโลทัย เป็น 1 ใน 33 ชุมชน จาก 11 อำเภอ ของจังหวัดกำแพงเพชร ที่ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานพัฒนาชุมชน อาหารพื้นบ้านไทยไม่เพียงแต่มีรสชาติที่อร่อยกลมกล่อม หลากหลายรส แต่ยังเป็นเอกลักษณ์ที่บ่งบอกถึงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของคนในพื้นถิ่นและคนไทยเรา ในแต่ละท้องถิ่นที่รังสรรค์และสามารถ เสริมสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยว โดยทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวเกิดความสนใจในจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยว

ซึ่งอาหารพื้นถิ่นได้กลายเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในปัจจุบัน และได้กลายเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวที่เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ธุรกิจท่องเที่ยวอันหลากหลายของประเทศ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของอาหารในแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งนักท่องเที่ยวในปัจจุบันให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ชุมชนวัดกะโลทัย ในเขตเทศบาลเมืองกำแพงเพชร มีวัตถุดิบประจำพื้นถิ่นอันหลากหลาย มีอาหารประจำถิ่นจำนวนมากเช่นกัน ในครั้งนี้ได้นำเอาอาหาร 7 อย่าง ทั้งคาวหวาน มาพัฒนาสูตรอาหารพื้นถิ่น

ทั้งนี้ การพัฒนาอาหารพื้นถิ่นของชุมชนวัดกะโลทัย ตามโครงการดังกล่าว จะเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆให้แก่นักท่องเที่ยวผ่านการบริโภคอาหารพื้นถิ่น เพื่อการเรียนรู้ทั้งด้านวัฒนธรรม สังคม และวิถีชีวิตของคนในแหล่งท่องเที่ยว อาหารทำให้นักท่องเที่ยวรู้ลึกถึงแหล่งท่องเที่ยวนั้นอย่างลึกซึ้ง การพัฒนาอาหารพื้นถิ่นจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอย่างหนึ่ง เพราะการผสมผสานของวัฒนธรรม ธรรมชาติ พื้นที่หรือท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์ เป็นประสบการณ์ที่สร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยว

การพัฒนาอาหารพื้นถิ่นของชุมชนกะโลทัย ซึ่งเป็น 1 ใน 27 ชุมชนของเทศบาลเมืองกำแพงเพชร เพื่อพัฒนา คิดค้น ต่อยอด สำหรับอาหารพื้นถิ่นของชาวชุมชนวัดกะโลทัย เพื่อให้ได้สำรับอาหารพื้นถิ่น จำนวน 1 สำรับ ประกอบด้วยอาหาร คาว หวาน และเครื่องดื่ม ไม่น้อยกว่า 5 เมนู และเพื่อสร้างกลไกในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จากอาหารพื้นถิ่นของชุมชนวัดกะโลทัย/////ชมรมผู้สื่อข่าวส่วนกลางและท้องถิ่นจังหวัดกำแพงเพชร

 

, , , , , , ,

Leave a Reply