จังหวัดกำแพงเพชร!!เปิดโครงการเครือข่ายความร่วมมือทางการแพทย์

โครงการเครือข่ายความร่วมมือทางการแพทย์โรค NCDs หัวใจและหลอดเลือด-ความดันโลหิตสูง

ที่โรงแรมชากังราวริเวอร์วิว จังหวัดกำแพงเพชร นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เป็นประธานเปิดโครงการเครือข่ายความร่วมมือทางการแพทย์ NCDs หัวใจและหลอดเลือด- ความดันโลหิตสูง ผ่านzoom video conference โดยมีนายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กล่าวรายงาน และ นายแพทย์วีระศักดิ์ ดำรงพงษ์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร กล่าวต้อนรับ โดยมีรองอธิบดีกรมการแพทย์ และแขกผู้มีเกียรติ พร้อมด้วย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกำแพงเพชร ได้มอบหมายให้ นายแพทย์เจษฎา พวงสายใจ รองผู้อำนวยการด้านพัฒนาระบบบริการและสนับสนุนบริการสุขภาพ รพ.กำแพงเพชร พว.ดร.อรอนงค์ กลางนภา รองผู้อำนวยการด้านการพยาบาล รพ.กำแพงเพชร และบุคคลากรทางแพทย์ เข้าร่วมโครงการฯ โดยมีคณะแพทย์จาก รพ.ราชวิถี รพ.กำแพงเพชร มาเป็นวิทยากรมาให้ความรู้ในครั้งนี้

จากแหล่งข้อมูลของกรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ พบว่า กลุ่มโรค NCDs (Noncommunicable diseases หรือโรคไม่ติดต่อ) เป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลก และอันดับหนึ่ง ในประเทศไทย ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและป่วยด้วยโรคไม่ ติดต่อมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้มาตรฐาน หลักเกณฑ์และรูปแบบ การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไม่ติดต่อที่ดำเนินงานอยู่ยังไม่ เพียงพอต่อการจัดการปัญหาและลดผลกระทบที่เกิดจากโรคไม่ติดต่อได้อย่าง ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ส่งผลให้เกิดความสูญเสียปีสุขภาวะและส่งผล กระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะการเสียชีวิตมากที่สุด เป็นปัญหา สุขภาพที่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูง และกระทบต่อคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วย และครอบครัว ทั้งระบบ

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้เร่งแก้ไขปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประชาชนในพื้นที่ทั่วประเทศผ่านสถานพยาบาล และเครือข่ายสุขภาพด้วยองค์ความรู้/ เทคโนโลยี/ทรัพยากร ตามบริบทและความต้องการของพื้นที่ ในการนาแนวคิด ความรู้ ข้อมูล เชิงประจักษ์ และประสบการณ์การแลกเปลี่ยน เพื่อพัฒนาคุณภาพการรักษา ผู้ป่วยให้มากขึ้นร่วมของภาคีเครือข่ายในรูปแบบการเข้าไปรับรู้ รับฟังปัญหา และร่วมคิด ร่วมทำ (Co- creation) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยสนับสนุน เพื่อประชาชนที่ห่างไกล ขาดโอกาส สามารถเข้าถึงบริการเฉพาะทางที่เหมาะสมมีมาตรฐาน และสมคุณค่าด้วย หลักการ The Best for The Most ที่จะช่วยในเรื่องลดการเหลื่อมล้ำ

อีกทั้งแผนการดำเนินงานในรูปแบบการดูแลคนไข้จาก Hospital Based เป็น แบบ Personal Based คือ การดูแลผู้ป่วยได้ที่บ้านโดยไม่ต้องมาโรงพยาบาล การสร้างความรอบรู้ใน การดูแลสุขภาวะ ของบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วยและญาติในระหว่างการรักษาและ หลังการรักษา ที่จะช่วยลดภาระโรคที่เกิดจาก พฤติกรรมที่สามารถป้องกันได้ ลดการ รอคอย ลดความแออัด รวมทั้งการจัดทามาตรฐานการดูแลรักษาทางการแพทย์วิถีใหม่ ต่อยอดการบริหารจัดการระบบสุขภาพ และเป็น ความร่วมมือทั้งด้าน บริการและวิชาการ ที่ทันสมัย เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพระบบการรักษา ที่ ตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพที่สำคัญ เน้นการบริหารจัดบริการร่วมกัน และการมีส่วน(New Normal of Medical Health Care) เพื่อรองรับสถานการณ์การแพทย์ระบาด ของโรคอุบัติใหม่ ที่มีผลกระทบโดยตรงกับโรคกลุ่ม NCDs ที่สามารถเข้าถึงทุกภาคส่วน เพื่อคล้องกับการขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อผ่าน แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย ที่มีการดำเนินงานทั้งในภาพรวมของโรคไม่ ติดต่อภายใต้แผนยุทธศาสตร์ระดับชาติ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) ด้านการพัฒนาและ เสริมสร้างศักยภาพคน รวมทั้งการปรับสมดุล และพัฒนาระบบ การบริหารจัดการ ภาครัฐ จากความร่วมมือของภาคีเครือข่าย

นอกจาก นี้ยังมียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องทั้ง ภายในกระทรวงสาธารณสุขและภายนอกกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกัน เพื่อพัฒนาองค์ ความรู้แก่บุคลากร ทางการแพทย์ในเขตสุขภาพ ในการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ และยั่งยืน สร้างความเข้มแข็งเครือข่ายบริการและวิชาการทางการแพทย์และ สาธารณสุข สร้างสังคมที่มีจิตสำนึกด้านสุขภาพ ให้คนไทยทุกคนมีสุขภาพดี มีระบบ สาธารณสุข ที่ได้มาตรฐาน ที่ประชากรทุกระดับเข้าถึงได้ดีขึ้น ที่สามารถป้องกันได้เกิด เป็นสังคม บ่มเพาะจิตสำนึก การมีสุขภาพดีสูงขึ้น ตามเป้าหมายของกระทรวง สาธารณสุข “ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข และระบบสุขภาพยั่งยืน” สู่ เป้าหมายสังคมอยู่เย็นเป็นสุข ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

, ,