กว่า 60 อปท.เมืองกล้วยไข่ระดมแนวทางแก้ปัญหาขยะ หวังแปรรูปเป็นพลังไฟฟ้าชุมชน
ที่ห้องประชุม เทศบาลสลกบาตร อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร ได้เป็นเจ้าภาพในการประชุม ผู้บริหารขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นระดับตำบลและเทศบาล โดยมีนายกฯ ปลัดหรือตัวแทนขององค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลทั้งสิ้นจำนวน 66 อปท.พร้อมตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผู้เข้าประชุมครั้งนี้จำนวน 1,10คน โดนมี นางทิวาพรรณ สหอารักขา นักวิชาการท้องถิ่นจังหวัดกำแพงเพชร นายสรายุท บุญขัน เจ้าหน้าที่สำนักงานสิ่งแวดล้อมที่ 4 นายพนม ไพศาลกิจ ที่ปรึกษา มูลนิธิพลังงานทดแทนเพื่อสิ่งแวดล้อม นายศุภชัย ศรีงาม นายกสมาคมนักข่าวส่วนกลางและท้องถิ่นกำแพงเพชร เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย ทั้งนี้ สืบเนื่องจากเมื่อปี พ.ศ 2557 คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ คสช. โดยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช) เห็นชอบให้กระทรวงพลังงานดำเนินการ รับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขยะชุมชนจำนวนทั้งสิ้น 400 เมกะวัตต์ ทั่วประเทศ เพื่อสนับสนุน ให้มีการนำขยะชุมชนมาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าโดย มีกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ดูแลโครงการซึ่งการดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะนั้น จะต้องเริ่มต้นจากภาครัฐ คือ องค์การบริหารส่วนตำบล,องค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือเทศบาล ให้เป็นผู้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด ทั้งหมด 11 ขั้นตอน
ทั้งนี้เพื่อเพิ่มจำนวนการผลิตกระแสไฟฟ้าในประเทศไทยเพื่อความมั่นคงของประเทศ และให้สอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศ และเป็นการช่วยกำจัดขยะชุมชนที่เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศมาช้านาน ซึ่งหลักเกณฑ์การขออนุญาตก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะชุมชนนั้น เมื่อผ่านขั้นตอนการอนุญาตแล้วหน่วยงานภาครัฐจะต้องเป็นผู้ดำเนินการจัดหา บริษัทเอกชนเข้ามาลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะชุมชน และแบ่งปันผลประโยชน์ผลตอบแทนที่ได้ จากการผลิตกระแสไฟฟ้าคืนสู่ให้กับหน่วยงานของภาครัฐที่ดำเนินการ เพื่อนำเงินมาพัฒนา ประชาชนในท้องถิ่นและคืนผลประโยชน์ให้กับชุมชนที่อยู่ใกล้โรงไฟฟ้า ซึ่งในการประชุมครั้งนี้เทศบาลสลกบาตร อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นหน่วยงานของภาครัฐได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกระทรวงมหาดไทยเพื่อเตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะชุมชน ขนาด 3 เมกะวัตต์ สถานที่ก่อสร้างอยู่หมู่ที่ 12 ตำบลท่าขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งการดำเนินการในครั้งนี้ได้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2562 โดยดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดทุกขั้นตอนเริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ ความเป็นไปได้และผลกระทบผลดีและผลเสีย จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและได้รับความเชื่อถือถึง 2 หน่วยงานคือ ผลการวิเคราะห์จากมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลกและมูลนิธิพลังงานทดแทนเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ขึ้นทะเบียนตามมาตรฐานกับกระทรวงการคลัง และได้ผ่านการรับฟังความคิดเห็นประชาชนโดยรอบโรงไฟฟ้าที่จะก่อสร้างตามกฎหมายกำหนด และได้ผ่านการเห็นชอบการทำกิจการนอกเขตพื้นที่ ทั้งขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าขุนราม และเทศบาลสลกบาตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งขณะนี้ขั้นตอนอยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนินการต่อในระดับจังหวัด และการประชุมในครั้งนี้ก็เพื่อชี้แจงรวบรวมข้อมูล บริมาณขยะภายในจังหวัดกำแพงเพชรทั้งหมดเพื่อเตรียมการรวมกลุ่มคัตเตอร์ภายในจังหวัด เพื่อให้ทราบปริมาณขยะที่จะนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าขนาด 3 เมกะวัตต์
ทั้งนี้ นายจำปา ม่วงสิมมา นายกเทศมนตรีตำบลสลกบาตร ชี้แจงว่าโรงไฟฟ้าขยะชุมชนแห่งนี้จะเป็นการช่วยกำจัดขยะทั้งของเก่าที่สะสมอยู่ตามบ่อขยะต่างๆ และขยะชุมชนที่จะเกิดขึ้นใหม่และโรงไฟฟ้าขยะชุมชนแห่งนี้ จะไม่สร้างผลมลภาวะที่เป็นพิษให้กับชุมชนใกล้เคียงแต่อย่างใด เนื่องจากขบวนการผลิตไฟฟ้านั้นจะใช้ขยะ RDF หรือขยะแห้งเท่านั้น โดยจะนำเครื่องขัดแยกขยะไปติดตั้งคัดแยกยังบ่อขยะ และจะนำเฉพาะขยะที่ติดไฟ เช่น กระดาษ พลาสติก เศษผ้าหรือขยะที่แห้งแล้วเท่านั้นเข้ามายังลงไฟฟ้า ซึ่งโรงไฟฟ้ากำลังการผลิตขนาด 3 เมกะวัตต์ ที่จะก่อสร้างนี้นั้นเป็นระบบหม้อต้มเพื่อ นำไอน้ำไปขับมอเตอร์ หรือเรียกว่าระบบ บอยเลอร์ คือจะใช้ขยะแห้งที่ขัดแยกแล้วมาเป็นเชื้อเพลิงวันละประมาณ 60 ตัน และโรงไฟฟ้าที่จะ ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิงนี้ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากในขบวนการผลิตจะไม่มีบ่อบำบัดน้ำเสียไม่มีกลิ่น ไม่มีควันแต่อย่างใด และกฎหมายยังต้องกำหนดให้มีจอแสดงผลค่าต่างๆที่ออกมาจากโรงงานไฟฟ้าและส่งออนไลน์ถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อควบคุมดูแลด้วย ดังนั้นในที่ประชุมในครั้งนี้จึงมีผู้นำองค์กร ที่เข้าร่วมได้ให้ความเห็นชอบและ เตรียมการเพื่อลงนาม MOU ในโอกาสต่อไป