ศูนย์ ปภ.เขต 8 กพ. ตรวจเตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่พร้อมเครื่องจักรกลชุดบรรเทาทุกข์ แก้ไขปัญหาภัยแล้ง ไฟป่าหมอกควัน
นายไพรินทร์ ลิ่มเจริญ ผู้อำนวยการศูนย์ ปภ.เขต 8 กพ. เปิดเผยว่า สัปดาห์นี้ เป็นสัปดาห์แรก ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน เริ่มกลับมาปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ ศูนย์ ปภ.เขต 8 กพ. ได้วางมาตรการและเตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่พร้อมเครื่องจักรกลชุดบรรเทาทุกข์ แก้ไขปัญหาภัยแล้ง ไฟป่าหมอกควัน ฤดูหนาว 2565 ในเขตพื้นที่รับผิดชอบฯ ภาคเหนือตอนล่าง 4 จังหวัด จังหวัดกำแพงเพชร-พิจิตร-ตาก-นครสวรรค์ และจังหวัดใกล้เคียง
วัตถุประสงค์ ให้เจ้าหน้าที่พร้อมเครื่องจักรกลฯ ปภ.8 พร้อมปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างรวดเร็วทันที เมื่อได้รับประสานทางสายด่วนแจ้งเหตุสาธารณภัย 1784 กรม ปภ. เป็นไปตามนโยบายของนายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรม ปภ. เตรียมให้พร้อม ฝึกซ้อมเป็นประจำ ลงมื้อทำได้ทันที ป้องกันภัยเชิงรุก บรรเทาทุกข์ เมื่อเกิดภัยฯ หัวใจ กรม ปภ.และบำบัดทุกข์ บำรุงสุข กระทรวงมหาดไทย
นายไพรินทร์ ลิ่มเจริญ ผู้อำนวยการศูนย์ ปภ.เขต 8 กพ. กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาหมอกควัน เป็นปัญหาสำคัญเนื่องจากส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน ได้แก่ ผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก และผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ รวมทั้งทำให้เกิดความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือน เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชน บดบังทัศนวิสัย และเป็นอุปสรรคในการคมนาคมและขนส่ง การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และระบบนิเวศป่าไม้
รวมทั้งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวที่เป็นระบบเศรษฐกิจที่สำคัญของพื้นที่ ซึ่งความรุนแรงของปัญหาโดยทั่วไปปรากฏชัดเจนในช่วงหน้าแล้ง และในช่วงฤดูหนาว ซึ่งที่มีสภาวะอากาศชื้น ลมพัดแรงทำเกิดความแห้งแล้ง ทำให้ฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นสามารถแขวนลอยอยู่ในบรรยากาศได้นาน นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กเพิ่มขึ้นเนื่องจากความแห้งแล้งที่ส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของไฟป่า
ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าว เกษตรกรจะทำการเผาเศษวัสดุเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับทำการเกษตร ปัญหาหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็กส่งผลกระทบต่อธุรกิจการท่องเที่ยวและการบริการ รวมถึงการจราจรทั้งทางบกและทางอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีผลต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่โดยตรง ได้แก่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย พะเยา ลำปาง แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน น่านและแพร่ พบว่า ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายนของทุกปี ทีมีการเผาในที่โล่งจำนวนมากทั้งการเผาในพื้นที่ป่า การเผาเศษเหลือจากการเกษตรในพื้นที่เกษตร และการเผาขยะมูลฝอยและเศษใบไม้ กิ่งไม้ในพื้นที่ชุมชน รวมทั้งผลกระทบจากการเผาในพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้าน ในกลุ่มภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ในหลายพื้นที่และติดต่อกันเป็นเวลานานหลายวัน ปัญหามลพิษหมอกควันและไฟป่า ในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย
จากการเผาในที่โล่งในพื้นที่เกษตร และพื้นที่ป่า เป็นปัญหาที่มีความสำคัญระดับชาติ จึงจำเป็นต้องบูรณาการทุกภาคส่วน โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องต้องให้ความร่วมมือและสนับสนุน เพื่อให้การป้องกันและควบคุมไฟป่า เพื่อให้การเผาในที่โล่งและการแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อเหตุการณ์ โดยเฉพาะในพื้นที่ ๘ จังหวัดในภาคเหนือตอนบน
จึงต้องมีมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน และให้ผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วม การป้องกันและแก้ไขปัญหา จะต้องประกอบด้วยการเฝ้าระวังและติดตามตรวจสอบปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กในพื้นที่ และรายงานข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบเพื่อเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง