ตลาดเกษตรกร ตลาดสร้างเม็ดเงิน!!ที่มั่นคงให้กับเกษตรกร จังหวัดกำแพงเพชร

ตลาดเกษตรกร ตลาดที่ยั่งยืนสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกรในจังหวัดกำแพงเพชร สร้างรายได้หมุนเวียนต่อเดือน ประมาณ 1.5 ล้านบาท ดำเนินการมาแล้วยอดขายสะสมปี 2557-2564 จำนวน 47,513,074 บาท

บรรยากาศตลาดนัดเกษตรกร บริเวณตรงข้ามสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร คึกคักไปด้วยผู้คนที่เดินทางออกมาจับจ่ายใช้สอยซื้อของอุปโภค มีอาหารปรุงสุก ผัก ผลไม้ สินค้าแปรรูป เป็นต้น สร้างรายได้หมุนเวียนให้กับเกษตรกรในจังหวัดกำแพงเพชร เป็นตลาดสร้างรายได้ที่ยั่งยืน

นายศักดิเดชน์ แก้ววิเศษ เกษตรจังหวัดกำแพงเพชร เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายสนับสนุนการจัดตลาดนัดเกษตรกรเพื่อให้มีช่องทางการตลาด หรือมีสถานที่จำหน่ายผลผลิตสินค้าเกษตรโดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่ผลิตตามระบบการผลิตสินค้าเกษตรที่ดีมีคุณภาพ และกำหนดให้เกษตรกรผู้ผลิตเป็นผู้จำหน่ายสินค้าเอง ในตลาดดังกล่าว ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาจำหน่ายอย่างทั่วถึง เปิดโอกาสให้เกษตรกรได้พบปะกับผู้บริโภคโดยตรง ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ทาให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต ให้สินค้ามีคุณลักษณะและปริมาณสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค ในขณะที่ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในคุณภาพ และความปลอดภัย ของสินค้า ส่งผลให้เกษตรกรสามารถช่วยเหลือตนเองได้แบบค่อยเป็นค่อยไป เป็นวิถีดำเนินการที่เสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่เกษตรกรในการผลิตสินค้าเกษตรที่ดี และเกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้

เพื่อให้เกษตรกรมีสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ  เกษตรกรมีโอกาสพบผู้บริโภค ได้เรียนรู้ในการวางแผนการผลิตและการตลาด ส่วนผู้บริโภคมีความมั่นใจได้ซื้อสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ ปลอดภัย จากเกษตรกรโดยตรง  สำหรับการคัดเลือกสินค้า เป็นสินค้าเกษตรที่เกษตรกรในพื้นที่เป็นผู้ผลิตตามกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรที่ดี มีคุณภาพ ปลอดภัย และเกษตรกรเป็นผู้จำหน่ายเอง  การคัดเลือกเกษตรกร  เป็นเกษตรกร หรือเป็นสมาชิกองค์กรเกษตรกร/วิสาหกิจชุมชน/สหกรณ์การเกษตร ที่ได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐ  เป็นเกษตรกรที่มีพื้นที่การผลิตสินค้าในจังหวัด

การบริหารจัดการ จังหวัดวางแผนจัดการคัดเลือกเกษตรกรมาจาหน่ายสินค้า สับเปลี่ยนหมุนเวียนกระจายอย่างทั่วถึง โดยต้องเป็นสินค้าเกษตรที่เกษตรกรผลิตได้เอง  เกษตรกรที่ได้รับคัดเลือกให้มาจาหน่ายสินค้าในตลาด ต้องรวมกลุ่มกันจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อบริหารจัดการตลาดในด้านต่างๆ อย่างมีส่วนร่วม โดยมีการประชุมหาแนวทางปรับปรุงพัฒนาตลาดทุกครั้งภายหลังสิ้นสุดการจำหน่าย จังหวัดทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ประสานให้การสนับสนุนด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

โดยมีคณะกรรมการเพื่อบริหารจัดการตลาดในด้านต่างๆ ต้องดำเนินการเก็บข้อมูล ผลการจาหน่ายรายสินค้า รวมทั้งข้อคิดเห็นของผู้บริโภค เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลการผลิต-การตลาด ของสมาชิก เพื่อการปรับปรุงพัฒนาต่อไป จังหวัดประสานงานขอความร่วมมือ/การสนับสนุนจากหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง เช่น สาธารณสุขจังหวัดให้มีการสุ่มตรวจวัดสารตกค้างในสินค้าเกษตรจากร้านค้าของเกษตรกร และติดป้ายแสดงผลการตรวจสอบไว้ในตลาดทุกครั้งในวันจำหน่าย เพื่อสร้างความมั่นใจในคุณภาพของสินค้าให้แก่ผู้บริโภค ตลาดสินค้าเกษตร คือ แหล่งซื้อขายสินค้าที่เกษตรกรสามารถเข้ามาขายสินค้าการเกษตรที่ตัวเองเพาะปลูกขึ้น

ตลาดสินค้าการเกษตรมีข้อดีคือช่วยให้ผู้ซื้อและเกษตรกรที่เป็นผู้ผลิตสามารถส่งต่อสินค้ากันได้โดยตรง ช่วยให้ได้ราคาที่ถูกกว่า เกษตรกรไม่โดนกดราคา สร้างรายได้อย่างยั่งยืน ภาครัฐจึงตั้งใจที่จะขยายตลาดสินค้าเกษตรไปทั่วประเทศให้ทุกจังหวัดมีแหล่งที่เกษตรกรสามารถนำสินค้ามาวางจำหน่ายได้   โดยตลาดสินค้าเกษตรนั้นจะเปิดให้เกษตรกรมาวางสินค้าเพื่อจำหน่ายได้สัปดาห์ละ 1 ถึง 2 ครั้ง ส่วนเวลาที่เหลือเกษตรกรก็สามารถใช้เวลาที่เหลือเหล่านั้นไปกับการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์หรือทำการเกษตรประเภทต่างๆต่อไป ช่วยให้มีเวลาเหลือเฟืออีกด้วย

ความปลอดภัยด้านสินค้าที่วางจำหน่าย  แน่นอนว่าผู้บริโภคหลายคนในยุคนี้ต่างก็เป็นห่วงสุขภาพของตนเองกันเป็นหลัก ดังนั้นการที่จะเลือกซื้อหรือจับจ่ายสินค้า ย่อมต้องคำนึงถึงสุขภาพของตนเองและครอบครัวเป็นหลัก ภาครัฐได้เล็งเห็นความสำคัญในด้านสุขภาพของผู้บริโภค จึงจัดตั้งให้ตลาดสินค้าเกษตรมีศูนย์ตรวจสารพิษจากพืชผลและเนื้อสัตว์ชนิดต่างๆ จะต้องไม่มีสารพิษหรือการปนเปื้อนของสารเคมี

การปลูกพืชต้องไม่มีการใช้สารเคมี สามารถทำเกษตรอินทรีย์หรือเกษตรปลอดสารพิษก็ได้ แต่ต้องไม่มีการตกค้างของสารพิษเมื่อต้องการนำมาจำหน่ายไปยังผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ตลาดสินค้าการเกษตรมีโอกาสที่จะเติบโตอย่างยั่งยืน เพราะจะช่วยให้ผู้บริโภคที่รักสุขภาพมาซื้อผักผลไม้และเนื้อสัตว์จากตลาดแห่งนี้กันมากขึ้น เพราะนอกจากจะมีราคาถูกแล้วยังไม่มีสารพิษตกค้างอีกด้วย

ราคาพืชผลและเนื้อสัตว์ทางการเกษตร ด้วยการส่งตรงของสินค้าจากเกษตรกรผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคโดยตรงและไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางที่มารับสินค้าไปจำหน่ายต่อ ทำให้ราคาสินค้าการเกษตรที่มีวางจำหน่ายในตลาดสินค้าเกษตรนั้นนอกจากจะปลอดสารเคมีและสารพิษต่างๆแล้ว ยังสามารถจำหน่ายให้กับผู้ซื้อโดยตรงด้วยราคาที่ถูกลงกว่าเดิมอีกด้วย ทำให้ผู้ซื้อนิยมมาซื้อสินค้าที่ตลาดแห่งนี้กันมากขึ้น เนื่องจากประหยัดเงินในกระเป๋าและได้ของดีต่อสุขภาพอีกด้วย

ใครบ้างที่สามารถจำหน่ายสินค้าในตลาดสินค้าเกษตร ผู้ที่สามารถนำสินค้ามาวางขายในตลาดสินค้าเกษตรได้นั้น จะต้องประกอบอาชีพทำการเกษตรและเป็นเกษตรกรที่เป็นเจ้าของสินค้าเอง ไม่ใช่พ่อค้าคนกลางที่มาขายเพื่อเอากำไรจากเกษตรกรอีกทอด ซึ่งตลาดแห่งนี้มีไว้ช่วยเหลือเกษตรกรเป็นหลัก

ดังนั้นการที่ตลาดสินค้าเกษตรเปิดขึ้น จะมาพร้อมกับเกษตรกรตัวจริงที่จำหน่ายสินค้าโดยไม่ต้องผ่านคนกลาง เกษตรกรจะได้ทำการตลาดด้วยตัวเอง รวมทั้งเข้าใจความต้องการของลูกค้า ซึ่งด้วยข้อดีตรงนี้เกษตรกรจึงสามารถทำความเข้าใจลูกค้าและหาสินค้ามาวางขายให้กับลูกค้าตรงตามความต้องการสร้างรายได้ที่มากขึ้น

โอกาสของเกษตรกร ตลาดสินค้าเกษตรนั้น แน่นอนว่าจะทำให้เกษตรกรได้รับโอกาสที่จะนำสินค้ามาวางขายได้เองไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง ดังนั้นเกษตรกรจึงไม่ต้องถูกกดราคาหรือขาดโอกาสในการนำสินค้ามาจำหน่ายอีกต่อไป เนื่องจากในอดีตนั้น เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่สามารถขายสินค้าได้ด้วยตัวเอง ไม่ทราบแหล่งจำหน่ายสินค้าหรือขาดความรู้ในการตลาด ไม่มีเวลาที่จะมานำสินค้ามาจำหน่ายด้วยตัวเอง แต่ตลาดสินค้าการเกษตรมีให้บริการเพียงอาทิตย์ละ 2 วันเท่านั้น ทำให้เกษตรกรมีเวลาอย่างเหลือเฟือในการเลี้ยงสัตว์และทำเกษตรด้านการปลูกพืชผักผลไม้

จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะได้นำสินค้ามาส่งขายให้กับลูกค้าตัวจริง มีรายได้เป็นกอบเป็นกำ สามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ ดังนั้นเราในฐานะคนไทยด้วยกัน เราควรเลือกซื้อสินค้าจากตลาดสินค้าเกษตรเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโดยไม่ต้องผ่านการกดราคาจากหน่วยงานย่อยใดๆที่ไปรับสินค้ามาอีกทอด ทั้งยังสามารถได้รับสินค้าที่ผ่านการตรวจคุณภาพ จึงไม่มีสารเคมีตกค้าง ปลอดภัยต่อการบริโภค และยังส่งผลดีต่อสุขภาพอีกด้วย

ตลาดเกษตรกรจังหวัดกาแพงเพชร เริ่มดาเนินการเปิดตลาดเมื่อวันที่ 21พ.ย. 2557 พื้นที่บริเวณทางเท้าหน้าสนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาแพงเพชร ตรงข้ามสานักงานเกษตรจังหวัดกาแพงเพชร ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งสิ้น 109 ร้าน โดยมีคณะกรรมการรวม 11 ราย ร่วมบริหารงานและมีเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชรเป็นที่ปรึกษา

ประเภทสินค้ามีดังนี้

1.อาหารปรุงสุก 13 ร้าน

2.ผัก 26 ร้าน

3.ผลไม้ 16 ร้าน

4.สินค้าแปรรูป 34 ร้าน

5.เนื้อสัตว์ 6 ร้าน

6.ข้าวสาร 3 ร้าน

7.ของใช้ 4 ร้าน

8.พันธุ์ไม้ 7 ร้าน

ยอดขายสะสมประจาปี 2564 จำนวน 18,022,894 ล้านบาท

ยอดขายสะสมปี 2557-2564 จำนวน 47,513,074 ล้านบาท

, , , , , ,