ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ส่งเสริมการเลี้ยง”แมลงหางหนีบ” กำจัดและควบคุมการระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพด
ที่ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร หมู่ที่ 2 ตำบลเทพนคร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร นายศักดา บุญสังวาล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ส่งเสริมการเลี้ยง”แมลงหางหนีบ” กำจัดและควบคุมการระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพด ลดต้นทุน ลดการใช้สารเคมี
นายศักดา บุญสังวาล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ ได้สาธิตวิธีการเพาะขยายพันธุ์แมลงหางหนีบ ซึ่งขั้นตอนไม่ยุ่งยาก โดยนำดินที่มีส่วนผสมของดินร่วน แกลบดำ และขุยมะพร้าว โดยมีอัตราส่วน 2:1:1 ใส่ในกล่องพลาสติกประมาณครึ่งกล่อง จากนั้นพ่นน้ำให้ความชื้น นำพ่อ แม่พันธุ์ ใส่ในกล่องพลาสติก ให้อาหารแมวบดละเอียด หรืออาหารปลาเม็ดเล็ก และให้น้ำโดยการใส่สำลีชุบน้ำ เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยแล้ว
สำหรับแมลงหางหนีบ เป็นแมลงห้ำที่ช่วยควบคุมประชากรแมลงศัตรูพืชหลายชนิด โดยกินทั้งไทยและตัวหนอนเช่น หนอนกออ้อย หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด เพลี้ยอ่อน หนอนกอข้าวแกงหางที่มีการเจริญเติบโตเป็น 3 ระยะ หน้าแก่ ระยะไข่ ระยะตัวอ่อน ระยะตัวเต็มวัย
ลักษณะแมลงหางหนีบส่วนใหญ่จะออกหากินเวลากลางคืน และหลบซ่อนตัวเวลากลางวัน ตามพื้นดิน ร่องไม้ ซอกหิน ใต้เปลือกไม้หรือตามกาบใบพืช ชอบอยู่ในที่ที่มีความชื้น ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเป็นแมลงห้ำ ทำลายเหยื่อที่เป็นตัวหนอน
โดยการใช้แพนหางที่มีลักษณะคล้ายคีมหนีบตัวหนอนแล้วใช้ปากกัดกิน ถ้าเป็นไข่ของแมลงศัตรูพืชหรือเพลี้ยอ่อนจะกัดกินโดยตรง การปล่อยแมลงหางหนีบ เพื่อใช้ควบคุมศัตรูพืช จะใช้ 100 -20,000 ตัวต่อไร่ ขึ้นกับปริมาณศัตรูพืชในแปลง โดยปล่อย 1-2 ครั้งต่อฤดูกาล สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร เบอร์โทร 055-773647/////สมาคมนักข่าวส่วนกลางและท้องถิ่นกำแพงเพชร