นายก อบจ.กำแพงเพชร!!แถลงการบริหาร 6 ปี ทุ่มงบกว่า 3 พันล้าน

“หมอทร” สุนทร รัตนากร แถลง 6  ปี ทุ่มงบกว่า 3 พันล้าน  พัฒนาคุณภาพชีวิตชาวกำแพงเพชร กราบขอบคุณทุกคะแนนเสียง เลือกมาทำงานนายก อบจ. ประชาชนมีส่วนร่วมตัดสินใจ บริหารโปร่งใส ได้รางวัลอันดับ 4 ของประเทศ จาก 76 จังหวัด

นายสุนทร รัตนากร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร กราบขอบคุณประชาชนชาวจังหวัดกำแพงเพชรที่ได้ให้ความไว้วางใจลงคะแนนเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่ง นายก อบจ.เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2555 และให้นโยบายกับประชาชนไว้ว่า “ถึงเวลาเปลี่ยนการบริหารการใช้งบประมาณ” โดยเปิดโอกาสให้ ประชาชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ การใช้งบประมาณปีละประมาณ 500 – 600 ล้านบาท โดยมีกิจกรรมหลักอยู่ 2 เรื่องคือ

สนับสนุนงบประมาณตามความต้องการโดยตรงทุกพื้นที่

  1. นโยบาย 1 ตำบล/1 เทศบาล = 1 ล้านบาท (ต่อปี) ในเรื่องส่งเสริมความเข้มแข็งของเกษตรกรและชุมชน ด้านการพัฒนาอาชีพ การกีฬา ศาสนาวัฒนธรรม ประเพณีและการท่องเที่ยว
  2. นโยบายอำเภอ SML 5 – 10 – 15 ล้านบาท (ต่อปี) สนับสนุนส่วนราชการ ท้องถิ่น กลุ่มองค์กรต่างๆ ตามขนาดของอำเภอ

– การพัฒนาด้านการศึกษา เทคโนโลยี สาธารณสุข

– สนับสนุนกิจกรรมกลุ่มแม่บ้าน อสม.และกลุ่มอาสาสมัครต่างๆ

– แก้ไขปัญหาเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส

– เร่งแก้ไขโครงสร้างพื้นฐานที่ขาดแคลนและจำเป็น เช่น ถนน สะพาน แหล่งน้ำ เป็นต้น 200 – 300 ล้านบาท (ต่อปี) โดยจะทำโครงการที่เป็นประโยชน์โดยตรงต่อประชาชนเท่านั้น

ภายหลังจากรับตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชรแล้ว ก็ได้นำแนวคิดที่ให้ไว้กับประชาชนมาจัดทำเป็นนโยบายแถลงต่อสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการพัฒนาจังหวัดกำแพงเพชรและเจตนารมณ์ที่จะทำให้กับประชาชนโดยเปิดเผยตั้งแต่ปี 2556 มาถึงปัจจุบัน มีผลงานที่ได้ดำเนินการ ดังนี้ จัดหาแหล่งงบประมาณในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนทั้งงบประจำปี งบประมาณเงินเหลือจ่าย และเงินสะสม โดยคัดเลือกจากแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบล/เทศบาล ที่ประชาชนเสนอผ่านจากระดับประชาคมมายังองค์การบริหารส่วนจังหวัดตามขั้นตอนเท่านั้น โครงการพัฒนาด้านการก่อสร้างถนนในทุกพื้นที่อำเภอ ตั้งแต่ปี 2556 ถึงปัจจุบัน จำนวน 1,001 โครงการ  งบประมาณ 1,923,498,900.- บาท กล่าวโดยสรุปคือทุกตำบลในพื้นที่ต้องมีโครงการและได้รับงบประมาณในการพัฒนาอย่างน้อยปีละ 1 ล้านบาทโดยทั่วถึง

  1. การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค – บริโภคและใช้ในการเกษตร เป็นที่ทราบกันดีว่าประชาชนชาวจังหวัดกำแพงเพชรมีอาชีพทางการเกษตรโดยอาศัยแหล่งน้ำทางธรรมชาติและแหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น กระผมได้ให้ความสำคัญกับน้ำในการทำการเกษตร โดยในพื้นที่ฝั่งตะวันตกไม่มีระบบระบายน้ำต้องอาศัยน้ำธรรมชาติอย่างเดียว ส่วนฝั่งตะวันออกต้องอาศัยระบบระบายน้ำจากคลองชลประทานหรือการขุดคูคลองก็ได้ให้นโยบายโดยให้ประชาชนรวมทั้งผู้นำชุมชนต่างๆ เสนอปัญหาด้านการพัฒนาแหล่งน้ำจากระดับหมู่บ้านโดยผ่านกระบวนการประสานแผนเช่นเดียวกัน โดยให้ความสำคัญเป็นลำดับหนึ่งในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณโดยเริ่มตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมาถึงปัจจุบันได้พิจารณาโครงการด้านแหล่งน้ำ ได้แก่ การขุดลอกคลอง แก้มลิง แหล่งน้ำสาธารณะประโยชน์ขนาดใหญ่ รางระบายน้ำ ฯลฯ จำนวน 297 โครงการ 339,194,700 บาท
  2. การสนับสนุนให้ความช่วยเหลือองค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาลตำบล/เมือง ในการสนับสนุนเครื่องมือ เครื่องจักรกล บุคลากรในการปรับปรุงซ่อมแซมถนน/ขุดลอกคูคลองโดยใช้งบปกติในการดำเนินการตั้งแต่ปี 2556 – 2563 ดังนี้

1) การซ่อมปรับเกรดบูรณะผิวจราจรลูกรังที่ได้รับการร้องขอจากองค์การบริหารส่วนตำบล/เทศบาลตำบล ระยะทาง 8,792.32 กิโลเมตร ในทุกพื้นที่อำเภอ

2) การขุดลอกคูคลองเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง จำนวน 239 โครงการ

3) การขุดลอกผักตบชวา จำนวน 50 โครงการ

4) การปรับปรุงซ่อมแซมถนนทางหลวงท้องถิ่นในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 41 สายทาง ระยะทาง 309.409 กิโลเมตร งบประมาณ 637,822,616.48 บาท

  1. การพัฒนาปรับปรุงสถานีขนส่งจังหวัดกำแพงเพชร องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชรได้รับการถ่ายโอนสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกำแพงเพชรมาอยู่ในความรับผิดชอบ และได้มีการพัฒนาอำนวยความสะดวกและการบริการให้กับพี่น้องชาวจังหวัดกำแพงเพชร และผู้ที่เดินทางมาจังหวัดกำแพงเพชรเป็นไปตามมาตรฐานกรมการขนส่งทางบก ด้านการส่งเสริมการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
  2. กระผมได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาเพราะการศึกษาสร้างคน คนสร้างชาติ โดยเฉพาะโรงเรียนในชนบทตามอำเภอต่างๆ ยังขาดโอกาสการพัฒนาไม่เท่าเทียมกับเด็กในเมือง จึงได้มีนโยบายอุดหนุนเงินงบประมาณให้กับการพัฒนาการศึกษาของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ อาทิเช่น

– สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1 เขต 2

– สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 – สถาบันการศึกษาระดับอาชีวศึกษา และการศึกษานอกระบบ ในด้านการซ่อมแซมอาคารเรียน จ้างครูผู้สอน พัฒนาทักษะผู้เรียน และสนับสนุนครุภัณฑ์การศึกษา ตั้งแต่ปี 2556 จนถึงปัจจุบัน งบประมาณรวม 534,315,418.- บาท

  1. การสืบสาน อนุรักษ์ สนับสนุนกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

ให้ความสำคัญกับงานประเพณีที่สำคัญของจังหวัดกำแพงเพชรและอำเภอต่างๆ โดยมีทั้งการอุดหนุนเงินงบประมาณให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ/หรือดำเนินการเอง ดังนี้

1) สนับสนุนเงินงบประมาณให้กับจังหวัดกำแพงเพชรในการจัดทำงานประเพณีสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร และงานประเพณีนบพระเล่นเพลง ตั้งแต่ปี 2556 ถึงปัจจุบัน รวมปีละ 4 ล้านบาทต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน รวมงบประมาณ 32 ล้านบาท

2) การจัดกิจกรรมงานประเพณีที่สำคัญของอำเภอ ได้แก่ การจัดงานไทยทรงดำของอำเภอคลองขลุง การจัดงานปีใหม่ม้งที่อำเภอคลองลาน งานประเพณีสงกรานต์ทุกพื้นที่ตำบล  งานบุญบั้งไฟเทศบาลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล งานประเพณีเข้าพรรษาและตักบาตรเทโว งานลอยกระทง ฯลฯ

3) การจัดงานกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ร่วมกับจังหวัดกำแพงเพชรทุกกิจกรรม โดยมีการสนับสนุนอุปกรณ์และกำลังบุคลากรการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงและพัฒนาการเกษตรปลอดสารพิษ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเกษตรปลอดภัยของพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายจังหวัดกำแพงเพชรโดยได้ดำเนินการ ดังนี้

1) การส่งเสริมและพัฒนาโรงงานผลิตสารปรับปรุงบำรุงดิน ได้มีการผลิตสารปรับปรุงบำรุงดินเพื่อให้พี่น้องชาวจังหวัดกำแพงเพชรยืมไปใช้ในการผลิตโดยยังไม่ต้องชำระเงิน ปัจจุบันมีการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้สารปรับปรุงบำรุงดินในทุกพื้นที่อำเภอ จำนวน 148 กลุ่ม สมาชิกราว 4,000 คน เพื่อมีส่วนร่วมในการลดการใช้สารเคมีในการทำการเกษตรหรือหากใช้ให้ใช้เพียงเล็กน้อยเท่าที่จำเป็น

2) โครงการโคก หนอง นา โมเดล กระผมได้มีการส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกรจังหวัดกำแพงเพชร ในการดำเนินรอยตามพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 9 ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยได้มีการคัดเลือกเกษตรกรเข้ารับการอบรมเพื่อเป็นต้นแบบให้กับประชาชนทั่วไปโดยนำศึกษาดูงานที่ศูนย์มาบเอื้อง จังหวัดชลบุรี เพื่อนำความรู้และหลักปฏิบัติมาพัฒนาต่อยอดให้กับชาวจังหวัดกำแพงเพชร ปัจจุบันมีเกษตรกรเข้ารับการอบรมแล้วจำนวน 1,762 คน ขณะนี้จังหวัดกำแพงเพชรเป็นจังหวัดระดับต้นๆ ของประเทศที่จัดทำโครงการโคก หนอง นา โมเดลและบังเกิดผลเป็นรูปธรรม

3) การเพิ่มศักยภาพการประกอบอาชีพเกษตรกร กระผมได้จัดทำโครงการเพื่อพัฒนาอาชีพเกษตรกรเป็นการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพมันสำปะหลังโดยทำในพื้นที่จำนวนน้อยแต่ได้ผลผลิตมาก การส่งเสริมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยโรงงาน การใช้พันธุ์อ้อยที่เหมาะสม การใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองกำแพงเพชร อำเภอทรายทองวัฒนา อำเภอบึงสามัคคี อำเภอคลองขลุง อำเภอโกสัมพีนคร อำเภอไทรงาม และอำเภอคลองลาน

8.การส่งเสริมสุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิตของประชาชนและสังคมที่เข้มแข็ง ได้พิจารณาดำเนินการส่งเสริมและจัดทำโครงการให้กับหน่วยงานและประชาชน ดังนี้

8.1 การสนับสนุนกิจกรรมด้านสุขภาพอนามัยและการออกกำลังกาย เป็นการจัดแข่งขันวิ่งมินิฮาฟ การจัดแข่งขันกีฬาต้านยาเสพติด การจัดแข่งขันกีฬาและสร้างความปรองดองสมานฉันท์ ฯลฯ

8.2 การฝึกอบรมเพื่อสร้างงานสร้างรายได้ให้กับประชาชนโดยได้ดำเนินการฝึกอบรมอาชีพต่างๆ ให้กับประชาชน เช่น โครงการจัดทำขนมไทย การแปรรูปอาหาร การจัดทำผลิตภัณฑ์ชุมชน ฯลฯ

8.3 การจัดกิจกรรมอาสาพัฒนาหมู่บ้าน (อสม.) ให้มีส่วนร่วมกับทางราชการในเรื่องการดูแลสุขภาพอนามัย ซึ่งมีพี่น้อง อสม.ในจังหวัดกำแพงเพชรกว่า 11,874 คน

8.4 การอุดหนุนงบประมาณให้กับตำรวจภูธรจังหวัดในการติดตั้งกล้อง CCTV เพื่อป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม การอุดหนุนงบประมาณตรวจสารเสพติด ฯลฯ

8.5 การอุดหนุนงบประมาณให้กับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในการจัดกิจกรรม To be number one และการจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ให้กับโรงพยาบาลชุมชน

9.การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยตั้งแต่ปี 2556ได้มีการจัดทำโครงการสำคัญๆ ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันในพื้นที่อุทยานแห่งชาติคลองลาน อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ และอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ดังนี้

9.1 โครงการปลูกป่าเพื่อรักษาระบบนิเวศ จำนวน 17 โครงการ งบประมาณ 8,042,900.- บาท

9.2 โครงการก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธาร (ฝายแม้ว) จำนวน 4 แห่ง งบประมาณ 3,3350,000.- บาท

9.3 การอบรมให้ความรู้กับเยาวชนและประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบอุทยานแห่งชาติทั้ง 3 แห่ง เพื่อให้มีความรักความหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติของท้องถิ่น จำนวน 17 โครงการ งบประมาณ 7,443,014.- บาท

9.4 การจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลรวม ได้แก่ การรับเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดเก็บขยะอันตรายในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร โดยตั้งแต่ปี 2560 – 2563 สามารถเก็บขยะอันตรายไปกำจัดทำลายตามหลักสุขาภิบาลได้ จำนวน 20.49 ตัน

  1. การยกระดับคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวและส่งเสริมการท่องเที่ยว

กระผมได้มีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบ่อน้ำพุร้อนพระร่วงตั้งแต่ปี 2556 ถึงปัจจุบัน ในการก่อสร้างและพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ขณะนี้มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับของนักท่องเที่ยวทั้งภายในจังหวัดและต่างจังหวัดโดยปี 2563 ที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวชม จำนวน 56,502 คน ก่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจกับจังหวัดกำแพงเพชรโดยรวม

  1. การพัฒนาการบริหารจัดการองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพและธรรมาภิบาล ข้าราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชรนั้น เป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญในการพัฒนาจังหวัดกำแพงเพชร ได้ส่งเสริมความก้าวหน้าและพัฒนาความรู้ความสามารถให้กับข้าราชการและพนักงานทุกระดับ เพื่อให้ข้าราชการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญในการพัฒนาจังหวัดกำแพงเพชรและขับเคลื่อนนโยบายของกระผมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลงานที่กล่าวมาโดยสังเขปนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เป็นความต้องการของพี่น้องประชาชน ที่ต้องการให้ผมในฐานะเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชรให้เข้ามาแก้ปัญหา แต่การดำเนินโครงการกิจกรรมบางอย่างอาจติดขัดด้วยระเบียบของทางราชการทำให้การทำงานติดขัดอยู่บ้าง แต่เพื่อประโยชน์ของประชาชนกระผมก็สามารถแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไปด้วยดี และในปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ที่เพิ่งสิ้นสุดไปนี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชรได้มีการขับเคลื่อนตามนโยบายและเป็นไปตามอำนาจหน้าที่และระเบียบของทางราชการ โดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐขององค์การบริหารส่วนจังหวัดทั้งประเทศจำนวน 76 จังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชรผ่านเกณฑ์ประเมินระดับเอ (A) อยู่ในลำดับที่ 4 คะแนนรวม 90.75  ผลการประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Performance Assessment: LPA) คะแนนเฉลี่ยรวม 5 ด้าน เท่ากับ 90.70

, , ,